Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
หน่วยตรวจสอบภายใน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2566
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
เว็บบอร์ด
พูดคุยเรื่องทั่วไป
ข้อเสนอแนะ ติ ชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางแจ้ง เรื่องร้องเรียน การทุจริต และประพฤติมิชอบ
คู่มือการดำเนินงาน
ติดต่อเรา
มาตราฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานส่วนตำบล
คู่มือประชาชน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์
เผยแพร่กฎหมาย "การแจ้งความ"
ลงบันทึกประจำวัน คือ การลงบันทึกแล้วจบ
#แจ้งไว้เป็นหลักฐาน คือ การลงบันทึกแล้วจบ
#ขอให้ดำเนินคดี คือ การแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดี
กฎหมายน่ารู้ 85 : แจ้งความคดีอาญาอย่างไร? เรื่องไม่เงียบ
.
เป้าหมายการแจ้งความ คือ ต้องการให้ตำรวจดำเนินการต่อผู้กระทำความผิดทางอาญา เป็นต้นว่า ถูกลักทรัพย์/โดนทำร้ายร่างกาย/โดนหมิ่นประมาทหรือการทำผิดทางอาญาอื่นๆ 
.
ตำรวจจะสอบสวนหรือสืบสวน แล้วก็จัดการกับคนกระทำหรือสงสัยว่ากระทำความผิดนั้นให้กับเรา การแจ้งความจึงไม่จำเป็นว่าเราจะรู้ถึงข้อกฎหมายว่า เป็นความผิดข้อหาอะไร ตำรวจจะปรับบทกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ผู้แจ้ง/ผู้เสียหาย เพียงต้องรู้ว่าเป็นเรื่องทางอาญา ไม่ใช่เรื่องทางแพ่ง หากได้รับความเสียหายนี้นจะมีความผิดทางอาญา ก็ไปหาตำรวจแล้วแจ้งความได้เลย
.
แจ้งความปกติจะต้องเป็น "ผู้เสียหาย" หรือผู้มีอำนาจจัดการแทน แล้วถ้าหากไม่ใช่เรื่องของเราจะไปแจ้งความได้หรือไม่ ? กฎหมายให้ทำได้โดยใช้คำว่า "กล่าวโทษ"
.
ตัวอย่าง คือ เมื่อเราพบเห็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำความผิดแล้ว ก็ต้องแจ้งให้ตำรวจทราบ เช่น มีการฆ่ากันตาย/ปล้นร้านค้า หรือมีคนกำลังจะฆ่าตัวตาย เป็นต้น
.
การแจ้งความที่เราได้ยินบ่อยๆ กฎหมายเรียกว่า "ร้องทุกข์" ตำรวจจะฟังว่าสิ่งที่เรากำลังเดือดร้อนนั้นเป็นทุกข์ทางอาญาหรือไม่ และคุณคือคนที่เป็นทุกข์หรือไม่
.
นอกจากตัวผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ได้แล้ว พ่อแม่ ลูก หรือคู่สมรส ก็สมารถร้องทุกข์แทนได้เฉพาะในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายบาดเจ็บจนไม่สมารถไปแจ้งความเองได้ หรืไม่อยากไปบากหน้าหรือเสียเวลาขึ้นโรงพัก ก็ไต้องไปเองก็ได้ สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นไปร้องทุกข์แทนได้เหมือนกัน
.
การแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นขั้นตอนที่จะให้ตำรวจดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด อย่างที่ว่าไว้ เราไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อหาก็ได้ เล่าเรื่องราวให้ตำรวจฟังก็พอ แต่ก็ไต้องระบุตัวผู้กระทำความผิดก็ได้หากไม่แน่ใจว่าใครทำ ถ้าเราเข้าใจและมีเหตุอันควรเชื่อได้วคนนี้ที่ทำผิดต่อเราก็บอกตำรวจเขาไปได้ แต่ถ้าไม่แน่ใจอย่าเหมาเอาเองส่งเดชจะเป็นเหตุให้คนคนนั้นเอาเรื่องกลับเราได้
.
ก่อนไปแจ้งความติดต่อสถานีตำรวจต้องทำอะไรบ้าง เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
ควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยนะครับ เช่น 
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบแทนฯ หรือ
2. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ
3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
4. หนังสือเดินทาง (PASSPORT) สำหรับชาวต่งประเทศที่เดินทางเข้มาภายในประเทศ
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. ในกรณีที่ทนจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่นให้นำ หลักฐานต่างๆ
.
ข้อควรรู้เพิ่มเติม : 
1. คดีอาญาส่วนตัว ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด 
2. ความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการก็สามารถฟ้องคดีต่อศาลได้ 
3. การแจ้งความได้ทุกสถานีตำรวจ หรือสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ

#กฎหมายน่ารู้ #แจ้งความ #ร้องทุกข์ #ตำรวจ #คดีอาญา #กฎหมาย #สำนักงานกิจการยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น #กระทรวงยุติธรรม
โพสเมื่อ : 12 ต.ค. 2565